top of page

JEAN SIBELIUS

Sibelius เป็นcomposer และนักไวโอลินชาวฟินแลนด์ ในสมัยยุคโรแมนติกตอนปลายและยุคearly-modern เค้านั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นcomposerที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นคนที่ช่วยพัฒนาเอกลักษณ์ของชาติฟินแลนด์ในระหว่างการต่อสู้เพื่อเป็นเอกราชจากรัสเซีย Sibelius เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1865 ในครอบครัวของหมอที่พูดภาษาสวีดิช เมื่อพ่อของเขาเสียแม่ของเขาเลยต้องทำการย้ายถิ่นฐานกลับมาที่บ้านเกิด โดยผู้ที่ทำหน้าที่แทนพ่อของเขาก็คือลุง Pehr Ferdinand Sibelius เค้าเป็นคนที่ซื้อไวโอลินให้และทำการสนับสนุนทางด้านดนตรีและการแต่งเพลง ในตอนเด็กเค้ายังชอบเล่นดนตรีร่วมวงกับพี่น้องของเขาและเพื่อนบ้านอีกด้วย หลังจากเรียนจบมัธยม Sibelius ก็ได้เรียนต่อในมหาลัยในด้านกฎหมายแต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ได้มีความสนใจในด้านดนตรีมากขึ้นจึงย้ายไปเรียนดนตรีที่ Helsinki musik institute

   ผลงานของเขาที่น่าทึ่งในช่วงนี้นั้นก็คือ violin sonata in f ซึ่งแต่งได้ทำให้ชวนให้นึกถึง Edvard Grieg มาก ต่อมาเขาก็ได้ไปเรียนต่อในที่เบอร์ลินและเวียนนากับcomposer ที่มีชื่อเสียงหลายคนเช่นkarl goldmark albert becker หลังจากนั้นเค้าถึงได้กลับมาทำการแสดงบทเพลงoverture และ scene de balletของเขาที่ฟินแลนด์ และได้ทำการแต่ง kullervo ต่อ โดยพัฒนาความเป็นเอกลักษณ์ของฟินแลนด์เข้าไป ในเวลานี้เองที่เขานั้นละทิ้งการเป็นนักไวโอลินอย่างสมบูรณ์ ในเดือนมกราคมค.ศ. 1899 Sibelius ได้ แต่งซิมโฟนีบทแรกของเขา ที่เต็มไปด้วยเนื้อหาความรักชาติ เนื่องจากจักรพรรดิรัสเซียมีความพยายามที่จะจำกัดอำนาจรัฐฟินแลนด์ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงถึงความรักชาติของSibelius นั้น ก็คือผลงานจากประวัติศาสฟินแลนด์ที่รู้จักกันในชื่อ Press Celebration Music ซึ่งถูกเขียนขึ้นเพื่อ เป็นการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ของหนังสือพิมพ์ Paivalehti ที่ถูกปิดไปหลังจากที่วิจารณ์การปกครองโดยรัสเซีย โดยฉากสุดท้ายของผลงานชิ้นนี้ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คือ finland awakens หลังจากที่ปรับปรุงและแก้ไขผลงานชิ้นนี้อีกเล็กน้อยก็กลายเป็นผลงานที่ผู้คนส่วนมากรู้จักกันในชื่อ finlandia ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างความรักชาติและปลุกใจชาวฟินแลนด์เป็นอย่างมาก

VIOLIN CONCERTO IN D MINOR

 

Sibelius ได้แต่ง Violin Concerto บทนี้เพื่ออุทิศให้กับนักไวโอลินชื่อ Willy Brumester และจะให้เขาแสดงเพลงนี้ขึ้นที่เบอร์ลิน แต่ด้วยเหตุผลทางการเงิน Sibelius จึงเลือกที่จะแสดงconcerto บทนี้ที่ helsinki แทน แต่ brurmester ก็ไม่สามารถเดินทางไปฟินแลนด์ได้เช่นกัน ต่อมาเข้าจึงได้ทาบทามให้ Victor Navacek นักไวโอลินชาวฮังการีที่มาจากเช็คและสอนไวโอลินอยู่ที่ helsinki institute of music ซึ่งก็คือ Sibelius academy ในปัจจุบันเป็นผู้แสดง การแสดงรอบแรกของบทเพลงนี้นั้นเปิดตัวขึ้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ค.ศ. 1904 โดยที่ Novacek เป็นผู้แสดงเดี่ยวไวโอลินและ sibelius เป็นconductor ซึ่ง Sibelius นั้น เค้าแทบจะแต่งเพลงนี้ไม่เสร็จทันเวลาการแสดงรอบแรก จึงทำให้ Novacek มีเวลาสำหรับการเตรียมตัวการแสดงในครั้งนี้ได้น้อยมากและเพลงนี้ยังเป็นบทเพลงที่ยากมากที่จะต้องใช้เทคนิคการเล่นที่สูงเป็นอย่างมาก ด้วยปัจจัยเหล่านี้นั้นทำให้ sibelius ตัดสินใจพลาดเป็นอย่างมากที่ได้เลือก Novacek ซึ่งเป็นครูไม่ใช่ศิลปินเดี่ยวที่มากฝีมือและเป็นที่ยอมรับของผู้คน เป็นผู้แสดงเดี่ยวในครั้งนี้การแสดงในครั้งนี้จึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จ โดยถูกนักวิจารณ์ในเฮลซิงกิวิจารณ์อย่างหนัก

Sibelius Violin Concerto ในเวอร์ชั่น 1903 ใน Concerto ฉบับเก่าก่อนที่จะแก้ไขเป็นฉบับปัจจุบันนี้ Sibelius ได้แต่งขึ้นในลักษณะที่มีความโรแมนติก อ่อนหวาน อ่อนโยนคล้ายอยู่ในความฝันและ style ของบนเพลงความเบามากกว่าในฉบับปัจจุบันฟังแล้วดูลอยๆ ตัว Cadenza แต่งโดยได้แรงบัลดาลใจมาจาก J.S.Bach จึงมีความคล้ายคลึงกันและในฉบับเก่านั้นยังถือว่ามีความยากเป็นอย่างมากยากที่จะหาคนเล่นได้แบบสมบูรณ์ ส่วนในฉบับปัจจุบันที่ได้แก้ไขไปแล้วนั้นตัวเพลงจะมีความดุดัน หนักเเน่น เข้มข้น มีการตัดช่วง Cadenza ที่แต่งในลักษณะที่คล้าย ฺBach ออกไป มีความอ่อนหวานและความยากน้อยลง แต่ก็ยังถือว่าเป็นบทเพลง Violin Concerto บทหนึ่งที่มีความยากเป็นอย่างมากอีกด้วย

หลังจากนั้น sibelius จึงได้ทำการระงับการเผยแพร่ในเวอร์ชั่นนี้และได้ทำการแก้ไขเนื้อหาของบทเพลงในหลายส่วนเป็นอย่างมาก เวอร์ชั่นใหม่ซึ่งเขาได้แก้ไขนี้ได้ออกทำการแสดงครั้งแรกในวันที่ 19 ตุลาคมค.ศ. 1905 โดยมี Richard Strauss เป็นconducter ร่วมกับวง berlin court orchestra ซึ่งSibelius ก็ไม่ ได้อยู่ร่วมการแสดงในขณะนั้น burmester ได้ถูกทาบทามให้เป็นผู้แสดงเดี่ยวอีกครั้งแต่ว่าเค้าก็ไม่ว่างอีก การแสดงก็ถึงต้องดำเนินต่อไปโดยให้Karel Halir หัวหน้าวง ในขณะนั้นเป็นผู้แสดงเดี่ยว ต่อมา Sibelius ได้ทำการอุทิศเพลงนี้ขึ้นใหม่ให้ Ference von Vecsey ซึ่งเขานั้นก็ได้ทำการแสดงเพลงนี้ในตอนที่เค้านั้นมีอายุเพียงแค่ 13 ปีถึงแม้ว่าเค้านั้นยังอาจจะไม่สามารถรับมือกับความยากของเพลงนี้ที่มีเทคนิคที่อยากเป็นพิเศษได้อย่างเพียงพอ

1st Movment

            ท่อนแรกนั้นเริ่มด้วยการเกริ่นขึ้นมาของเครื่องสายด้วย dynamic pianissimo โดยเป็นทำนองที่นุ่มนวลแต่ชวนให้รู้สึกถึงบรรยากาศของสภาพอากาศที่มีความหนาวเย็น ซึ่งในหลายพื้นที่ของประเทศฟินแลนด์นั้นปกคลุมไปด้วยหิมะเกือบตลอดทั้งปี ในส่วนของทำนองหลักของผู้แสดงเดี่ยวไวโอลินนั้นได้เข้ามาด้วยทำนอง IV-V-I ในบันไดเสียง d minor (G A D) ทำนองหลักของไวโอลินเมื่อผสมรวมกับทำนองที่มีการเกริ่นนำมาก่อนหน้าประกอบกับทำนองของคลาริเน็ตที่ทำหน้าที่สื่อสารเป็นเสียงสะท้อนเพื่อโต้ตอบกับทำนองหลักของไวโอลินนั้น ทำให้แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ที่มีความเปล่าเปลี่ยวและอ้างว้างเป็นอย่างมาก

จากนั้นจึงเข้าสู่ช่วง development ซึ่งเป็นการพัฒนาทำนองหลักแรก ในช่วง cadenza แรกนั้น Sibelius ได้แต่งเป็นคอร์ด แต่ใช้วิธีการเล่นเป็นแบบข้ามสายซึ่งเป็นการโชว์เทคนิคของการใช้โบว์อย่างรวดเร็ว

หลังจากนั้นออเคสตร้าจึงเริ่มเข้ามาในทำนองหลักแรกโดยคลาริเน็ต เพื่อเป็นการนำไปสู่ทำนองหลักที่สอง ในทุกๆครั้งที่ทำนองหลักเปลี่ยนแปลง Sibelius จะใช้ทำนอง F FF E F A G FF เป็นตัวเชื่อมเข้าสู่อีกทำนองหนึ่ง ในทำนองหลักที่สองนั้น Sibelius ได้แต่งทำนองที่สื่อให้เห็นถึงอารมณ์และความรู้สึกที่หลากหลาย ทั้งอารมณ์ความรู้สึกถึงความรักและโรแมนติก แต่ก็ประกอบไปด้วยความรู้สึกโศกเศร้าและเสียใจไปพร้อมๆกัน

ในช่วง cadenza ที่ 2 นั้น Sibelius ได้ใช้ arpeggios ในบันไดเสียง g minor และ a minor ในการแสดงเพื่อให้เกิดความลื่นไหล ซึ่งเป็นการเปรียบเหมือนกับเสียงลมที่พัดกระหน่ำ และใช้ double stop และ scale ที่มีความยากเพื่อโชว์ลีลาความสามารถของผู้เล่น

หลังจาก cadenza ที่ 2 นั้น ก็เป็นการกลับมาของทำนองหลักหรือที่เรียกว่า Recapitulation แต่ทำการเปลี่ยนโน้ตและเปลี่ยนบันไดเสียงไปยังอีกบันไดเสียงหนึ่ง

ซึ่งให้ความรู้สึกที่มีความแข็งแรงและลุ่มลึกกว่าในทำนองหลักแรก ตามมาด้วยการกลับมาของทำนองหลักที่สองซึ่งใช้โน๊ตเดิมแต่เปลี่ยนบันไดเสียงเป็นอีกเสียงหนึ่งแทน ซึ่งให้ความรู้สึกที่เกิดความสดใสและมีความสุขมากกว่าทำนองหลักที่สองในชุดแรกที่ผ่านมาซึ่งมีอารมณ์โศกเศร้าแฝงอยู่

ใน allegro molto vivace ซึ่งเป็น coda ช่วงสุดท้ายของบทเพลงนั้น ถือว่าเป็นช่วงที่มีความเร็วและยากมากที่สุดในบทเพลงอีกด้วย เนื่องจากมีการใช้เทคนิคขั้นสูงซึ่งก็คือ การเล่น octave หรือการเล่นคู่แปด ติดต่อกันในทำนองที่เร็วมาก

การใช้เทคนิค recochet ซึ่งก็คือการใช้เทคนิคของโบว์ที่เด้งในโบว์เดียวกัน โดยมือซ้ายกดแล้วเปลี่ยนคอร์ดไปเรื่อยๆ การใช้เทคนิค

finger Octave ซึ่งเป็นการเล่นแบบคู่แปด แต่ว่าใช่นิ้ว 13 24 เป็นไปเรื่อย ซึ่งถือว่ามีความยากเป็นอย่างมาก ในช่วงสุดท้ายนั้น Sibelius ได้นำทำนองหลักและกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งในรูปแบบคู่แปด เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและดุดันเธอนำไปสู่ตอนจบของบทเพลงในท่อนแรก

2nd Movment

        ท่อนที่ 2 Adagio di Molto มีท่วงทำนองที่สงบและไพเราะ เกริ่นนำช่วงสั้นๆด้วยเสียงคลาริเนตที่เล่นเป็นเสียงประสานกัน ตามด้วยทำนองของโอโบและฟลุ้ตก่อนนำไปสู่เสียงเดี่ยวไวโอลินที่มีความสงบและลึกซึ้ง โดยมีเสียงเครื่องสายที่บรรเลงด้วยเทคนิค Pizzicato เป็นฉากหลัง โดยใช้เทคนิคเสียงประสานแบบ Dissonant ที่ไพเราะ ประกอบด้วยกลุ่มเครื่อง Brass ซึ่งมีบทบาทให้การเปลี่ยนแนวเสียงประสานของท่อนในตอนต้น ความโดดเด่นในช่วงกลางของบทเพลงคือเสียงเดี่ยวไวโอลินที่เล่นในจังหวะ 2 against 3 เป็นแบบ Double Stop ซึ่งมีความยากเป็นอย่างมาก โดยนักไวโอลินจะต้องเล่น 2 ทำนองที่มีจังหวะไม่เหมือนกันพร้อมกันเป็น Double Stop จากนั้น Sibelius ก็ได้เพิ่มความเข้มข้นของบทเพลงมากขึ้นจนถึงช่วงที่เป็นจุด climax ของบทเพลงจากนั้นก็ค่อยๆลดความเข้มข้นลงจบลงอย่างสงบ

3rd Movment

ท่อน 3 Allegro Ma non Tanto อย่างที่นักไวโอลินทุกคนนั้นทราบกันดีว่า ในท่อนสุดท้ายนี้นั้นเป็นท่อนที่รวบรวมเทคนิคของไวโอลินที่มีความยากและท้าทายเป็นอย่างมาก โดย Sibelius ได้เริ่มเปิดตัวท่อนสุดท้ายของบท เพลงนี้ด้วยการรัวจังหวะของเครื่องดนตรี Timpani เป็นจังหวะเขบ็ตหนึ่งชั้นสลับกับเขบ็ตสองชั้น จากนั้นจึงตามมาด้วยทำนองของไวโอลินที่ให้ความรู้สึกถึงความหนักแน่นและฮึกเหิม โดยสามารถเปรียบเทียบได้กับการต่อสู้ของชาวฟินแลนด์ เพื่อให้มีความเป็นเอกราชและมีอิสระภาพจากประเทศรัสเซีย เนื่องจาก Sibelius นั้นเป็นคนที่มีความรักชาติเป็นอย่างมากเห็นได้จากการที่เขานั้นแต่งเพลงหลายบทเพลงเพื่อปลุกใจชาวฟินแลนด์ให้ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชจากประเทศรัสเซีย สำหรับเทคนิคของการประพันธ์ที่ Sibelius ได้นำมาปรับใช้ในท่อนนี้นั่นก็คือ the style of a polonaise (a dance with a moderate 1-2­-3, 1-2­-3 beat pattern) หรือจังหวะการเต้นรำพื้นบ้านแบบ Polonaise ที่มีจังหวะ 1-2-3 แบบปานกลาง แต่ไม่เหมือนกับ Polonaise แบบทั่วไปตรงที่ จะมีจังหวะที่คล้ายกับการเดินที่กระทืบเท้า ประกอบกับมีการใช้จังหวะแบบ Syncopation ทำให้รู้สึกตื่นเต้น เร่าร้อนและเร้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ทำให้นักวิจารณ์ดนตรีชาวอังกฤษ Donald Tovey ได้ ขนานนามท่อนสุดท้ายนี้ว่า Polonaise of Polar Bears

bottom of page