

Ludwig van Beethoven

Violin Sonata no.8 in G Major
Violin Sonata No. 8 in G major, Op. 30 ประพันธ์ขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1801-1802 และได้ทำการจัดการแสดงรอบปฐมทัศน์ในปี ค.ศ. 1803 โดย Beethoven นั้นได้แต่งบทเพลงนี้ขึ้นเพื่ออุทิศให้กับ Alexander I of Russia Sonata บทนี้นั้น Beethoven ได้แสดงให้เห็นถึงเทคนิคการประพันธ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของเขาในช่วงยุคตอนต้นตลอดจนถึงช่วงยุคกลางของเขา โดย Beethoven ได้ใช้จังหวะแบบ Syncopation และ extraordinary off beat sforzandi เพื่อสร้างความพิเศษและทำให้ดนตรีดูมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
-crop.jpg)
Beethoven เกิดที่เมือง Bonn ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 เป็นลูกชายคนรองของ Johann van Beethoven กับ Maria Magdalena Keverich บิดาเป็นนักนักร้องในคณะดนตรีประจำราชสำนัก และเป็นคนที่ขาดความรับผิดและติดสุราเป็นอย่างมาก บิดาของเขาหวังจะให้ Beethoven ได้กลายเป็นนักดนตรีอัจฉริยะอย่าง Mozart นักดนตรีที่โด่งดังในช่วงยุคที่ Beethoven ยังเด็ก จึงเริ่มสอนดนตรีให้ในขณะที่เบทโฮเฟินอายุ 5 ขวบ แต่ด้วยความคาดหวังของบิดาที่มีความคาดหวังสูงเช่นเกินไปจึงทำให้ Beethoven ถูกบังคับซ้อมอย่างทารุณ จนเขารู้สึกท้อแท้ในหลายๆครั้ง แต่ความพยายามที่ผ่านมาอย่างหนักหน่วงก็ย่อมสัมฤทธิ์ผล จนเขานั้นสามารถแสดงเดี่ยวเปียโนครั้งแรกได้เมื่ออายุเพียงแค่เจ็ดปีที่เมืองโคโลญจน์ประเทศเยอรมนี หลังจากนั้น Beethoven จึงได้เริ่มเรียน Violin และ Organ และได้ทำงานในราชสำนัก ต่อมา Beethoven ได้เดินทางไปยังเมืองเวียนนา เพื่อศึกษาดนตรีต่อ เขาได้พบกับ Mozart และมีโอกาสเล่นเปียโนให้ Mozart ฟัง เมื่อ Mozart ได้ฟังฝีมือของ Beethoven แล้ว จึงได้กล่าวกับเพื่อนว่า Beethoven จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป แต่เค้าก็ต้องรีบกลับไปที่ Bonn เนื่องจากมารดาป่วยหนัก จนเมื่อมารดาของเขาเสียนั้นเขาจึงได้กลับไปที่เวียนนาอีกครั้งหนึ่งโดยคราวนี้นั้นเขาได้ศึกษากับ Haydn คีตกวีที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของโลก
ในปี ค.ศ. 1796 ระบบการได้ยินของเบทโฮเฟินเริ่มมีปัญหา เขาเริ่มไม่ได้ยินเสียงในสถานที่กว้าง ๆ และเสียงกระซิบของผู้คน ทำให้เขาตัดสินใจปิดเรื่องหูตึงนี้เอาไว้ เพราะในสังคมยุคนั้น ผู้ที่ร่างกายมีปัญหาพิการ จะถูกกลั่นแกล้ง เหยียดหยาม จนในที่สุดผู้พิการหลายคนกลายเป็นขอทาน ดังนั้น เขาต้องประสบความสำเร็จให้ได้เสียก่อนจึงจะเปิดเผยเรื่องนี้ จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลง เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิกคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิก แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง จึงทำให้ผลงานเป็นตัวของตัวเอง เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด จนเมื่อปี ค.ศ. 1801 Beethoven ได้ตัดสินใจเปิดเผยเรื่องปัญหาในระบบการได้ยินให้ผู้อื่นฟังเป็นครั้งแรก แต่ครั้งนี้สังคมยอมรับ ทำให้เขาไม่จำเป็นต้องปกปิดเรื่องอาการหูตึงอีก หลังจากนั้น ก็เป็นยุคที่เขาประพันธ์เพลงออกมามากมาย แต่เพลงที่เขาประพันธ์นั้นจะมีปัญหาตรงที่ล้ำสมัยเกินไป ผู้ฟังเพลงไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ในภายหลัง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มเข้าใจในเนื้อเพลงของ Beethoven บทเพลงหลายเพลงเหล่านั้นก็เป็นที่นิยมล้นหลามมาถึงปัจจุบัน